วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2561

ประวัติความเป็นมาศูนย์การเรียนรู้



ประวัติความเป็นมาศูนย์การเรียนรู้

- พ.ศ.๒๕๔๙ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ได้จัดทำโครงการเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน ๖๐ แห่ง เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงครองราชย์ปีที่ ๖๐ โดยมอบให้หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ๓๐ หน่วยดำเนินการ หน่วยละ ๒ หมู่บ้าน ดำเนินการในที่ตั้งหน่วย ๑ แห่ง และหมู่บ้านเป้าหมาย ๑ แห่ง โดยน้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ เป็นแนวทางในการดำเนินการ

หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ๓๑ ฯ ได้ดำเนินการโครงการภายในที่ตั้งหน่วย โดยใช้พื้นที่ประมาณ ๒ ไร่ เพื่อเป็นบ้านต้นแบบให้กับราษฎร และเป็นแหล่งความรู้แก่เกษตรกร ประชาชน และเด็กนักเรียน ที่มีความสนใจ ได้เข้ามาศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อจะได้นำไปใช้เป็นตัวอย่างและแนวทาง ในการดำเนินการในหมู่บ้านและ สถานที่ศึกษาของตนเอง 

ในปี ๒๕๔๙ บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ๓๑ ฯ ได้รับคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่นของ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองทัพไทย 

ในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔ หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ๓๑ สำนักงานพัฒนาภาค ๓ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ได้เปิดศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชราชกาลที่ ๙ ทรงพระชนมายุ ๘๔ พรรษา

วัตถุประสงค์ของการดำเนินการจัดตั้งศูนย์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา

๑. เพื่อพัฒนาพื้นที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบของชุมชนทางด้านเกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ พลังงานทดแทนและการปศุสัตว์ โดยมีแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานการเรียนรู้

๒. เพื่อปลูกค่านิยมและฝึกทักษะในการทำการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชนที่เข้าศึกษาดูงาน ให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพได้ในลักษณะ ลดรายจ่าย – เพิ่มรายได้ เช่นการลดรายจ่ายที่ได้จากผลิตผลที่นำมารับประทานในศูนย์การเรียนรู้ ตลอดการลดรายจ่ายในการใช้ต้นทุนการผลิต เช่นการใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ที่ได้จากวัตถุดิบที่ได้จากภายในศูนย์การเรียนรู้เอง เช่นปุ๋ยคอก เศษพืชผัก หรือวัชพืชเป็นต้น และเพิ่มรายได้โดยการจำหน่ายผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคภายในครัวเรือนออกสู่ตลาดต่อไป


พื้นที่ดำเนินงานและกลุ่มเป้าหมาย

พื้นที่ดำเนินงานและกลุ่มเป้าหมาย
๑. พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง นทพ.
๒. กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าศึกษาดูงาน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการเข้ามาศึกษาเรียนรู้
๑. ผู้เข้าชมศูนย์การเรียนรู้ ฯ ได้รับความรู้และสามารถนำเอาองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพของตนเองได้

๒. ผู้เข้าชมศูนย์การเรียนรู้ ฯ สามารถพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น โดยสามารถลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้

๓. ศูนย์การเรียนรู้ ฯ สามารถผลิตและจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษที่มีคุณภาพให้กับชุมชนรอบข้างได้ในราคาถูก เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีค่าครองชีพที่ต่ำลง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น




องค์ประกอบศูนย์การเรียนรู้
๑. พื้นที่ส่วนกลาง
๒. ฐานการเรียนรู้
๓. การตลาด
๔. ๑ ไร่พอเพียง

๑. พื้นที่ส่วนกลาง





พื้นที่ส่วนกลาง เป็นพื้นที่เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิภพอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ การเรียนรู้องค์ความรู้ตามฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ ตลอดจนถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเข้าใจ พร้อมที่จะปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเข้าถึง และสามารถนำไปพัฒนาเพื่อให้เกิดมาตรฐานเป็นที่ยอมรับได้ ซึ่งอันดับแรกจะต้องศึกษาเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกิดความศรัทธาเพื่อน้อมนำมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม

หลักการทรงงานข้อที่ ๑๙ เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย ๕ ส่วน คือ

๑. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และการปฏิบัติตนตามสมควรจะเป็น โดยอยู่บนพื้นฐานดังเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา โดยมุ่งเน้นการพ้นภัยทางวิกฤต เพื่อความมั่นคง เพื่อความยั่งยืนของการพัฒนา
๒. คุณลักษณะ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาใช้กับตนเองและกับคนทุกระดับ โดยยึดหลักทางสายกลาง และพัฒนาอย่างเป็นระบบ
๓. คำนิยาม
คำว่าพอเพียงนั้นหมายถึงความพอประมาณอย่างมีเหตุ โดยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนพอสมควร เพื่อจะรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้าง ทั้งทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของโลกได้เป็นอย่างดี โดยอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ อย่างระมัดระวังในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ใช้ในการวางแผน ทุกขั้นตอน ควบคู่ไปกับการพัฒนาจิตใจของคนในชาติทุกระดับ เพื่อให้สำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตไปด้วยความอดทน ความเพียร ความรอบคอบมีเหตุผล เพื่อสร้างความสมดุลในเกิดขึ้นทั้งทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การนำหลักคิด หลักปฏิบัติ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ภายในใต้สามห่วง สองเงื่อนไข คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และความมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง และสองเงื่อนไข คือเงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม

ความพอประมาณหมายถึง การแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ และรู้จักประมาณในการบริโภคแต่พอควร คือไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และไม่เบียดตนเอง และผู้อื่น
  • โดยใช้หลักการ ๕ พอ
  • ๑. ความพอดีทางด้านจิตใจ
  • ๒. ความพอดีในด้านสังคม
  • ๓. ความพอดีการใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างที่มีอย่างจำกัด
  • ๔. ความพอดีการใช้เทคโนโลยี
  • ๕. ความพอดีทางด้านวิถีชีวิตทางด้านเศรษฐกิจแบบพอเพียง ให้สมเหตุสมผล 
  • ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจใช้ระดับความพอเพียงนั้นจะต้องรอบคอบด้วยเหตุผล โดยคำนึ่งถึงเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นอย่างรอบคอบ โดยใช้หลักการและเหตุผลอยู่ ๕ ด้าน คือ
  • ๑. หลักการและเหตุผลในการประหยัดและอดออม
  • ๒. หลักการและเหตุผลในการเลือกอาชีพให้เหมาะสมกับตนเอง
  • ๓. หลักการและเหตุผลในการหลีกเลี่ยงการแข่งขันกันอย่างรุนแรง
  • ๔. หลักการและเหตุผลในการพัฒนาตนอย่างไม่หยุดยั้ง
  • ๕. หลักการและเหตุผลในการพัฒนาตนในการลดละเลิกในสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม

  • ภูมิคุ้มกัน หมายถึงการเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในด้าน ๆ ต่าง โดยคำนึ่งถึงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นทั้งใกล้และไกล
๔. เงื่อนไขที่จะนำไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนนั้นจะต้องประกอบด้วย ๒  เงื่อนไข คือ
  • เงื่อนไขความรู้ ที่เกิดจากการเข้าใจ (การเรียนรู้) เงื่อนไขความรู้ที่เกิดจากการเข้าถึง (การลงมือทำ) และความรู้ที่เกิดจาการพัฒนา (เข้าสู่ระดับมาตรฐาน)
  • เงื่อนไขคุณธรรม คือเครื่องกำกับจิตใจให้ปรากฏแสดงเป็นพฤติกรรมที่กำหนดได้ว่าเป็นความดีความจริงและความงาม ตามหลักศาสนาของตนเอง
๕. หลักการนำเอาไปใช้ เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมนั้นจะต้องศึกษาหาความรู้จากศาสตร์ของพระราชาที่ ทรงคิดค้นไว้มากกว่า ๒,๐๐๐ กว่าโครงการ และนำหลักการทรงงานมาประยุกต์ในการดำเนินรอยตาม ๒๓ ข้อ คือ
  • ๑. ข้อมูลให้เป็นระบบ
  • ๒. ระเบิดจากข้างใน
  • ๓. แก้ไขจุดเล็ก
  • ๔. ทำงานตามลำดับชั้น
  • ๕. ภูมิสังคม
  • ๖. องค์รวม
  • ๗. ไม่ติดตำรา
  • ๘. เรียบง่ายได้ประโยชน์สูงสุด
  • ๙. ทำให้ง่าย
  • ๑๐. มีส่วนรวม
  • ๑๑. ประโยชน์ส่วนร่วม
  • ๑๒. บริการจุดเดียว
  • ๑๓. ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
  • ๑๔. ใช้อธรรมปราบอธรรม
  • ๑๕. ปลูกป่าในใจคน
  • ๑๖. ขาดทุนคือกำไร
  • ๑๗. พึ่งพาตนเอง
  • ๑๘. พออยู่พอกิน
  • ๑๙. เศรษฐกิจพอเพียง
  • ๒๐. เอื้อเฟื้อจริงใจต่อกัน
  • ๒๑. ทำงานให้มีความสุข
  • ๒๒. มีความเพียรดังมหาชนก
  • ๒๓. รู้รักสามัคคี

ฐานการเรียนรู้ ประกอบด้วย ๕ ฐานการเรียนรู้

ฐานการเรียนรู้ที่ ๑ ฐานการเรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านการลดต้นทุนการผลิต

กิจกรรมการในฐานการเรียนรู้มีวัตถุประสงค์ในการลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอกอย่างน้อย ๔๐ เปอร์เซ็นต์ เช่น การนำน้ำส้มควันไม้สามารถลดการใช้สารเคมีในการไล่แมลง การแปรรูปข้าวโพดที่ได้จากการผลิตมาผสมกับอาหารตามท้องตลาด ตลอดจนถึงการผลิตปุ๋ยน้ำและปุ๋ยหมักเพื่อลดการปุ๋ยเคมี



การผลิตน้ำส้มควันไม้

การแปรรูปอาหารสัตว์

การทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชี

การส่งเสริมการทาปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่กลับกอง
เงื่อนไขความสำเร็จ

  • ๑. ใกล้แหล่งวัสดุในการทาปุ๋ย เช่น ใบไม้ ฟางข้าว วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร
  • ๒. ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อให้ความชื้นกองปุ๋ยหมัก
  • ๓. ต้องมีเวลาในการรดน้ากองปุ๋ยหมัก
งบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ๓,๖๐๐.- บาท 

ลำดับ
รายการ
ค่าใช้จ่าย
หมายเหตุ
วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ๑ ตัน
มูลสัตว์ ๓๖๐ กก.
อุปกรณ์ (จอบ บัวรดน้า)
,๕๐๐
,๘๐๐
๓๐๐



       รวม
,๖๐๐


หมายเหตุ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว เปลือกถั่ว ซังข้าวโพด ทลายปาล์ม กากถั่วเหลืองขี้เลื่อย ใบกระทิน และใบก้ามปู เป็นต้น

วิธีการ – ส่งเสริมให้กับพื้นที่ของราษฎรที่มีความจำเป็นต้องเพิ่มอินทรียวัตถุและสามารถใช้วัตถุดิบที่มีในพื้น

ที่มาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ และเคยมีการใช้ปุ๋ยเคมีในพื้นที่ในปริมาณมากมาก่อน หน่วยสามารถใช้การสำรวจควบคู่กับโปรแกรมคาแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลงสามารถดาวน์โหลดได้จาก website ของกรมพัฒนาที่ดิน หรือ ชุดตรวจสอบค่า N – P - K และกรด-ด่าง ของดิน หรือ เก็บตัวอย่างดินเพื่อส่งวิเคราะห์ได้ที่ สำนักงานพัฒนาที่ดินประจำจังหวัด

- เมื่อทำการส่งเสริมให้กับราษฎรได้ใช้แล้ว ควรมีการแนะนำ/ส่งเสริมให้ใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่ เพื่อใช้ในการผลิตต่อไปโดยมีอัตราการใช้ ๑ – ๒ ตัน ต่อไร่

ลักษณะกองเป็นแถวยาวรูปสามเหลี่ยม โดยไม่พลิกกลับกอง มีขั้นตอนวิธีทำดังนี้
๑. นำฟางหรือเศษข้าวโพด หรือ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยได้ ๔ ส่วนวางหนา ๑๐ ซม. บนพื้น ฐานกว้าง ๒.๕ ม. โรยทับด้วยขี้วัว ๑ ส่วน (สัดส่วน ๔ ต่อ ๑ ถ้าเป็นใบไม้ใช้ ๓ ต่อ ๑) แล้วรดน้า ถ้าต้องการปุ๋ยหมัก ๑ ตัน ก็ต่อความยาวให้ได้ ๔ ม. ขณะตวงเศษพืชในเข่งให้เหยียบให้แน่น แต่ตอนวางในกองรูปสามเหลี่ยม สูงรวม ๑.๕ ม. ปกติก็จะมีจานวน ๑๕ – ๒๐ ชั้น แต่ละชั้นหนาไม่เกิน ๑๐ ซม. การทำเป็นชั้นบาง ๆ ก็เพื่อให้จุลินทรีย์ในมูลสัตว์สามารถออกมาย่อยสลายเศษพืชได้ทั่วถึง ห้ามเหยียบกอง

๒. กองปุ๋ยยาว ๔ ม. จะใช้ขี้วัว ๓๐ กระสอบ (ประมาณ ๓๖๐ กก.ๆ ละ ๕.- บาท เป็นเงิน ๑,๘๐๐.- บาท)
๓. ภายในเวลา ๒ เดือนให้ดูแลน้าอย่างประณีตและพิถีพิถัน ได้แก่ รดน้ำวันละครั้ง ในปริมาณที่ไม่ทำให้น้ำไนโตรเจนจากมูลสัตว์ไหลนองออกมามาก ทุกๆ ๑๐ วันให้เอาไม้หรือเหล็กเจาะกองปุ๋ยถึงพื้นดินระยะห่างรู ๔๐ ซม.รอบกอง กรอกน้ำลงไปในปริมาณที่ทำให้ภายในกองปุ๋ยชื้นพอดี ๆ ไม่มีน้าไหลนองออกมามาก เสร็จแล้วปิดรู (รดน้าวันละครั้ง แล้วทุก ๑๐ วันเจาะกองปุ๋ยเติมน้า ปิดรู (เจาะรวม ๕ ครั้ง) - ๔๓ -
- ๔๔ -กองปุ๋ยก็จะยุบเหลือแค่ ๑ ม. กระบวนการก็จะยุติโดยไม่ต้องพลิกกอง ทิ้งให้แห้งเพื่อให้จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยสงบตัว ไม่ให้เป็นอันตรายต่อพืช เมื่อแห้งแล้วค่อยเอาไปใช้หรือเก็บใส่กระสอบ เก็บได้นานหลายปี

(ข้อมูลกระบวนการผลิต : มหาวิทยาลัยแม่โจ้)

ฐานการเรียนรู้ที่ ๒ ฐานการเรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านการเกษตร


     การปลูกพืชระยะสั้น
การปลูกพืชระยะกลาง
การปลูกพืชระยะยาว

กิจกรรมการปลูกพืชเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องวัตถุประสงค์คือปลูกเพื่อสาธิตให้ได้ทราบว่า ในครอบครัวหนึ่งสามารถปลูกไว้รับประทานเอง จะทำให้ผู้ปลูกได้รับประทานผักสดที่อุดมด้วยวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ ซึ่งมีความปลอดภัยจากสารเคมี และสามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้ เพราะโดยทั่วไปแล้วคนเรามีการบริโภคผักอย่างน้อยวันละ ๒๐๐ กรัม เพื่อให้สารอาหารครบถ้วน ชนิดของพืชผักสวนครัวตามความเหมาะสมหรือความต้องการของราษฎรในพื้นที่ โดยมีการปลูกพืชตามอายุการเก็บเกี่ยว ได้แก่

ผักอายุสั้น (อายุสั้นกว่า ๒ เดือน) เช่น ผักชี ผักกาดหอม ผักกาดเขียว ผักบุ้งคะน้า กวางตุ้ง แตงกวาข้าวโพดฝักอ่อน และป๋วยเหล็ง เป็นต้น

ผักอายุปานกลาง (อายุ ๒ - ๕ เดือน) เช่นกะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลี บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก ถั่วฝักยาว ถั่วแขก หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ พริก แตงโมมะระ ฟักทอง ข้าวโพดหวาน และมันเทศ เป็นต้น

ผักยืนต้น (มากกว่า ๑ ปี) เช่น กุ้ยช่าย ผักหวาน มะเขือชะอม ชะพู โหระพา ถั่วพู ตะไคร้ แมงลัก กระชาย กระถิน ชะอม ขิง ข่า ขมิ้น และหน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น

- ปุ๋ยที่ใช้ในการเตรียมพื้นที่ ๑๐๐ กก. ปุ๋ยอินทรีย์ ๑๐๐ กก.

การเตรียมดิน
- เตรียมดินสำหรับปลูก ใช้ดิน แกลบ : ปุ๋ยหมักอัตราส่วน หนึ่งต่อหนึ่ง คลุกเคล้าให้เข้ากัน รดน้ำเพื่อให้มีความชื้น สังเกตได้จากสามารถกำวัสดุปลูกเป็นก้อนได้
- พรวนดิน ตากดินทิ้งไว้ประมาณ ๗ – ๑๕ วัน
- ยกแปลงสูงประมาณ ๔ – ๕ นิ้ว กว้างประมาณ ๑ เมตร ส่วนความยาวตามลักษณะของพื้นที่ ควรอยู่ทิศเหนือ/ใต้ เพื่อให้ผักได้รับแสงตลอดทั้งแปลง
๑. ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 2 – 3 กก.ต่อเนื้อที่ ๑ ตารางเมตร

การดูแลรักษา
- การให้น้ำพืชผักอายุสั้น ระบบรากตื้น ต้องการน้ำสม่ำเสมอทุกระยะการเจริญเติบโต ต้องให้น้ำทุกวัน ควรให้ช่วงเช้าและเย็น

การบริหารจัดการน้ำ
การบริหารจัดการน้ำสำหรับพืชผัก ศูนย์การเรียนรู้ได้ติดตั้งระบบน้ำหยดเพื่อช่วยในการประหยัดพลังงานและเวลาในการบำรุงดูแลรักษาอยู่ ๓ ลักษณะ คือ

๑. การติดตั้งระบบน้ำหยดขนาด ๔๐๐ ลิตร ให้กับพืชระยะสั้นที่ต้องการน้ำอยู่เป็นประจำทุกวัน






















๒. การติดระบบน้ำหยดแบบลูกทุ่ง ๒๐๐ ลิตร กับผักพื้นบ้านเช่น ต้นพลูคาว ต้นสะระแหน่ ต้นหอมแบ่ง กุยช่าย ฯลฯ





๓. การติดระบบน้ำหยดแบบลูกทุ่ง ๒๐ ลิตร กับพืชผักสวนครัว เช่น พริก มะเขือ ฯ ลฯ






การบริหารจัดการทั้งสามระบบนอกจากจะเป็นการจัดการระบบน้ำให้เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิดแล้ว ยังเป็นการจัดการบริหารเวลาที่จะต้องเสียไปกับการดูแลรักษา นำเวลาดังกล่าวมาทำกิจกรรมอื่นที่ให้ก่อเกิดรายได้ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่เราสามารถลดรายจ่ายได้ทันที เพราะเวลาเป็นเงินเป็นทอง

การให้ปุ๋ย มี ๒ ระยะ คือ

- ปุ๋ยรองพื้น ใส่ช่วงเตรียมดิน หรือรองก้นหลุมก่อนปลูก ควรเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

- ปุ๋ยบำรุง ใส่ปุ๋ยสูตร ๑๕ – ๑๕ – ๑๕ หลังจากล้าตั้งตัวได้แล้ว และใส่ปุ๋ยครั้งที่ ๒ เมื่อเวลาผ่านไป ๒ สัปดาห์ สำหรับ ปุ๋ยสูตร ๑๒ – ๒๔ – ๑๒ สำหรับเร่งการออกดอกและผล

- การกำจัดวัชพืช ใช้มีด จอบ หรือถอดด้วยมือ

- การกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยปกติจะใช้สารสกัดจากสะเดาเพราะเป็นทั้งสารไล่แมลงและฆ่าแมลงโดยตรง

นอกจากปลูกพืชผักสวนครัวแล้วยังปลูกหรือไม้ผลและไม้เศรษฐกิจ เช่นขนุน เงาะ มะม่วง ฝรั่ง ต้นมะยมหอม สัก สะเดา กระท้อน ลิ้นจี่ รอบ ๆ ศูนย์การเรียนรู้ เพื่อประโยชน์จากการปลูกไม้สามอย่างให้เกิดประโยชน์สี่ คือไม้ใช้สอย ไม้กินได้ ไม้เศรษฐกิจ

หลักนักพัฒนา
จะปลูกพืช                ต้องเตรียมดิน 
จะกิน                        ต้องเตรียมอาหาร
จะพัฒนาการ            ต้องพัฒนาคน 
จะพัฒนาตน             ต้องพัฒนาที่ใจ
จะพัฒนาใครเขา      ต้องพัฒนาตัวเราก่อ

ฐานการเรียนรู้ที่ ๓ ฐานการเรียนรู้การพึ่งพาตนเอง (ด้านปศุสัตว์)


การเลี้ยงโค
การเลี้ยงเป็ดเทศ
การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่

การเลี้ยงสุกร

การเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง
รากฐานของสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมที่มีการเลี้ยงสัตว์กันอย่างแพร่หลาย โดยมีจุดประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อใช้เป็นอาหารของประชากรภายในครอบครัว หมู่บ้าน และขยายสู่สังคมในเชิงพานิช อาหารที่ได้จากสัตว์ ได้แก่อาหารประเภทเนื้อ นมและไข นอกจากรายได้เพื่อการเลี้ยงดูครอบครัวได้อีกด้วย การทำเกษตรทฤษฏีใหม่ด้านการเลี้ยงสัตว์ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้นการพึ่งพาตนเอง โดยกานำวัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ภายในท้องถิ่นตลอดจนการอาศัยภูมิปัญญาทีได้จากการสืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ อาศัยหลักการพึ่งพิงธรรมชาติในการเลี้ยง ในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย มีความแตกต่างกันในด้านวัฒนธรรมขนมาธรรมเนียมประเพณี ความเป็นอยู่และการดำรงชีพ ดังนั้น การเลี้ยงสัตว์จึงมีความแตกต่างกันตามสภาพพื้นที่ การใช้ประโยชน์และการบริโภคได้ ปัจจุบันศูนย์ได้ดำเนิน

กิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ ดังนี้

  • ๑. การเลี้ยงโคพันธุ์ผสม
  • ๒. การเลี้ยงสุกร
  • ๓. การเลี้ยงเป็ดเทศ
  • ๔. การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่และการไก่พันธุ์พื้นเมือง


การส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสม
กิจกรรมการเลี้ยงโคที่จะให้ประสบผลสำเร็จนั้นจะต้องมีการศึกษาเรียนรู้ปัจจัยต่าง ๆ ๕ ด้าน คือ
๑. การเตรียมพื้นที่ในการเลี้ยงวัว
พื้นที่ที่จะเลี้ยงวัวคือพื้นที่ที่วัวจะอยู่เติบโต ใช้ชีวิตในช่วงเวลาก่อนที่วัวจะพร้อมสู่การนำไปขายได้ เนื่องจากวัวเป็นสัตว์ที่มีขนาดตัวใหญ่ พื้นที่ในการเลี้ยงจึงต้องใช้บริเวณที่มีขนาดใหญ่เหมาะสม การเลี้ยงวัวมีได้สองลักษณะคือ การเลี้ยงแบบชาวบ้านที่เลี้ยงไปตามทุ่งตามนา การเลี้ยงแบบนั้นจำเป็นต้องมีคนคอยเฝ้า มีพื้นที่ใกล้เคียงที่สามารถนำวัวไปเดิน มีหญ้าให้วัวแทะเล็ม ส่วนอีกลักษณะหนึ่งคือการเลี้ยงแบบฟาร์ม ต้องมีการทำคอกรวมถึงรางอาหารรางน้ำที่ถูกสุขลักษณะ มีความสะอาดสำหรับวัว มีขนาดคอกที่กว้างขวางเพียงพอ

๒. การเลือกพันธุ์วัวเนื้อที่จะเลี้ยง
พันธุ์ของวัวเป็นอีกสิ่งที่สำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาเป็นพิเศษ พันธุ์ที่จะเลือกมาเลี้ยงจะต้องดูจากความเหมาะสมของลักษณะการเลี้ยงรวมถึงสถานที่ ท้องถิ่นที่จะเลี้ยงด้วย เพราะหากเลือกพันธุ์ที่ไม่เหมาะสมจะได้ผลที่ไม่ดี วัวมีน้ำหนักน้อย เลี้ยงยาก อาจไม่แข็งแรงได้ พันธุ์ของวัวมีทั้ง วัวเนื้อพันธุ์พื้นเมือง วัวเนื้อพันธุ์ต่างแดน วัว

๓. ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
ผู้เลี้ยงต้องมีการศึกษาหาความรู้ให้ลึกซึ้งลงรายละเอียดเกี่ยวกับวัวที่เลี้ยง สายพันธุ์ที่เลี้ยง ธรรมชาติของวัวพันธุ์นั้น สามารถปรับวิธีการเลี้ยงให้เข้ากับนิสัยใจคอ ลักษณะของวัว ต้องรู้ถึงจุดเสี่ยงที่จะทำให้วัวเกิดโรค หรือข้อเด่น จุดได้เปรียบที่จะทำให้วัวเติบโตเร็วแข็งแรงมีน้ำหนักมีลักษณะที่ดี สามารถขายได้ราคา

๔. ศึกษาการตลาด
เกษตรกรมือใหม่ไม่เพียงแต่จะต้องรู้จักมีความเชี่ยวชาญการเลี้ยงวัวเท่านั้น แต่ควรจะเรียนรู้และศึกษาเทคนิคกลไกตลาดในการค้าวัว หาแหล่งที่รับซื้อที่ได้ราคา รู้จังหวะในการขายเพื่อให้ได้ราคาที่ดีด้วย เพราะการจะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงวัว นอกจากการเลี้ยงวัวให้เติบโตแข็งแรง มีลักษณะดี มีน้ำหนักดีแล้ว ยังต้องประสบความสำเร็จในด้านกลไกการตลาดอีกด้วย
๕. หาวิธีการลดต้นทุน
เคล็ดลับสำคัญที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงวัวเนื้ออีกข้อหนึ่งก็คือ การหาวิธี ทดลอง เรียนรู้วิธีในการลดต้นทุนการเลี้ยงโดยยังคงคุณภาพที่ดีในการเลี้ยงด้วย เช่น การเลี้ยงด้วยวัตถุดิบที่ประหยัดแต่มีคุณภาพดี การลดเวลาในการเลี้ยง การผสมเทียม เป็นต้น

การส่งเสริมการเลี้ยงสุกรแบบเกษตรธรรมชาติเพื่อขุนขาย
เงื่อนไขความสำเร็จ

  • ๑. พันธุ์ที่จะนามาเลี้ยงเพื่อขุน ควรเป็นพันธุ์ที่ประชาชนโดยทั่วไปนิยมบริโภค
  • ๒. โรงเรือนควรมีขนาดพื้นที่เลี้ยงให้อยู่ได้อย่างสบาย สามารถคุ้มแดด คุ้มฝนได้เป็นอย่างดี มีความแข็งแรง อายุการใช้งานอย่างน้อย ๓ – ๕ ปี สามารถเลี้ยงสุกรได้หลายรุ่น
  • ๓. ต้องอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ราคาถูก หรือมีแหล่งวัตถุเหลือใช้จากครัวเรือน หรือระบบไร่นา เพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงสุกรอย่างเพียงพอ
  • ๔. จะต้องนำแกลบมูลสุกรที่ได้จากการเลี้ยงแต่ละรุ่นไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงบำรุงดิน
  • ๕. ต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับตลาดจำหน่ายสุกร ทั้งตลาดสุกรมีชีวิต และตลาดเนื้อสุกรชำแหละ
  • ๖. ต้องนารายได้จากการขายสุกรไปซื้อลูกสุกร และอาหารสุกรเพื่อมาเลี้ยงขุนในรุ่นต่อๆ ไปให้ต่อเนื่อง
งบประมาณค่าใช้จ่ายในการดาเนินการ ๒๒,๑๕๐.- บาท

ลำดับ
รายการ
ค่าใช้จ่าย
หมายเหตุ
.



.

.

.








ค่าพันธุ์สุกรเพศเมีย หรือเพศผู้จำนวน ๓ ตัว/ราย ราคาตัวละ๑,๕๐๐.- บาท

ค่าโรงเรือนและอุปกรณ์ภายในโรงเรือน
ค่าวัสดุเตรียมหลุม

ค่าอาหารเฉลี่ยตัวละ ๓,๔๕๐.-บาท







ค่ายาเวชภัณฑ์
,๕๐๐



,๐๐๐

,๐๐๐

๑๐,๓๕๐
- สุกรลูกผสม เพศเมีย ๓ ตัว/ราย ถ้าเป็นเพศผู้ควรตอนก่อน อายุ ๑.๒ เดือน(น้ำหนักเฉลี่ย ๑๕-๒๐ กก.)
- โรงเรือนขนาด ๒XX.๘ ม.
- วัสดุเตรียมคอกหมูหลุมประกอบด้วยแกลบ ปุ๋ยคอก(หรือดินที่ขุดออก) และเกลือ
- หัวอาหาร ๔.๕ กระสอบ ๆ ละ ๕๐๐.-บาทเป็นเงิน๒,๒๕๐.- บาท
- ปลายข้าว ๙ กระสอบ ๆ ละ ๓๖๐.- บาทเป็นเงิน ๓,๒๔๐.- บาท
- รำรวม ๑๓.๕ กระสอบ ๆ ละ ๓๖๐.- บาทเป็นเงิน ๔,๘๖๐.- บาท
- ค่ายาเวชภัณฑ์ ตัวละ ๑๐๐.- บาท

       รวม
๒๒,๑๕๐

วิธีการ โรงเรือนเลี้ยงสุกรแบบเกษตรธรรมชาติ (หมูหลุม) หน่วยและเกษตรกรต้องร่วมมือกัน หากสามารถจัดหาวัสดุในท้องถิ่นได้ก็จะเป็นการลดค่าใช้จ่าย และสามารถก่อสร้างคอกได้ถูกต้องตามแบบที่กำหนด

ผลตอบแทน
๑. สุกรน้ำหนัก ๘๐ – ๑๐๐ กก./ตัว ราคาจำหน่าย กก.ละ ๖๕- ๗๐.- บาท เป็นเงิน ๕,๐๐๐ – ๖,๐๐๐.- บาท จำนวน ๓ ตัว เป็นเงิน ๑๕,๐๐๐ – ๑๘,๐๐๐.- บาท
๒. ปุ๋ยคอกจากมูลสุกร ประมาณ ๑๐ กก./วัน
๓. คอกสุกรมีอายุการใช้งาน ๓ – ๕ ปี ๑ ปี สามารถเลี้ยงสุกรขุนได้ ๒ รุ่น

กิจกรรมการเลี้ยงเป็ดเทศ
เป็ดเทศ เป็นเป็ดพันธุ์เนื้อ ซึ่งมีลักษณะเด่นคือเป็นเป็ดที่มีโครงสร้างใหญ่ เนื้อมาก ไขมันต่ำ ไร้กลิ่นสาบ เนื้อตัวสะอาด ทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่นเดียวกับเป็ดพื้นเมืองธรรมดา แต่มีข้อดีคือ เลี้ยงง่าย โตไว ทนต่อโรค สามารถให้อาหารที่หาได้ตามท้องถิ่นได้ ออกไข่ปีละ 4-5 ชุดๆ ละประมาณ 15 ฟอง ฟักไข่ได้เองและเลี้ยงลูกเก่ง ข้อสำคัญ จำหน่ายได้ราคาดีเป็นที่ต้องการของตลาด

การเลี้ยงเป็ดเทศ แบ่งเป็น
ตั้งแต่แรกเกิด - อายุ 3 สัปดาห์
การฟักไข่จะใช้เวลาประมาณ 35 วัน เมื่อลูกเป็ดเทศเกิด นำไปเลี้ยงในเล้า ซึ่งมีผ้าหรือกระสอบป่านตัดเย็บล้อมรอบเล้า เพื่อป้องกันลมโกรกถูกตัวลูกเป็ดพื้นเล้าควรปูด้วยแกลบหรือวัสดุที่สะอาด หนาประมาณ 2-3 นิ้ว จัดวางหลอดไฟให้ความอบอุ่น เตรียมรางใส่อาหาร รางใส่น้ำไว้ในเล้า ให้อาหารเป็ดวันละ 4-5 ครั้ง อุณหภูมิที่เหมาะสมในการกกลูกเป็ด ควรสังเกตจากปฏิกิริยาของลูกเป็ดด้วย ถ้ามีลูกเป็ดนอนสุมทับกันและมีเสียงร้อง แสดงว่าอุณหภูมิต่ำเกินไป ต้องเพิ่มความอบอุ่นให้ ถ้าลูกเป็ดกระจายอยู่และยืนอ้าปากหอบกางปีก แสดงว่าร้อนเกินไป ต้องลดอุณหภูมิลง ถ้าอุณหภูมิพอเหมาะ ลูกเป็ดจะนอนราบกับพื้นกระจายอยู่ทั่วไป การกกลูกเป็ดควรกกประมาณ 3 สัปดาห์

อายุ 4 - 12 สัปดาห์
โรงเรือนสำหรับเลี้ยงเป็ด ควรแห้งสะอาด ไม่มีน้ำขัง ป้องกันแดดและฝนได้ดี รางอาหารควรวางห่างจากรางน้ำ มีผัก หญ้าสด หรือผักตบชวา ให้เป็ดกิน อาหารควรมีโปรตีนประมาณ 16% ถ้าเลี้ยงเป็ดเทศเพื่อจำหน่าย ควรจำหน่ายอายุ 10-12 สัปดาห์

อายุประมาณ 13 - 24 สัปดาห์
ช่วงนี้เป็ดจะกินอาหารมากขึ้น การเจริญเติบโตน้อย จึงเลี้ยงด้วยอาหารให้เพียงพอสำหรับรักษาขนาดและน้ำหนักของเป็ดให้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย อาหารที่ให้ช่วงนี้ ควรมีโปรตีนประมาณ 14%

การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์
เป็ดที่จะเริ่มไข่เมื่ออายุ 28 สัปดาห์ วันหนึ่งควรให้อาหาร 2 ครั้ง เช้า-เย็น ปริมาณที่ให้แม่พันธุ์ 130-150 กรัม/ตัว/วัน พ่อพันธุ์ 200-250 กรัม/ตัว/วัน อาหารที่ให้ควรมีโปรตีนประมาณ 15-18% เป็ดเทศปีหนึ่งจะไข่ประมาณ 4-5 ชุด ชุดละ 15-20 ฟอง สามารถไข่ได้ 2 ปี ลักษณะเป็ดเทศที่จะไข่มีขนสีดำเป็นมัน หน้าแดง ร้อง แม่เป็ดชอบไข่ในที่มืดสงบ จึงควรมีรังไข่บุด้วยฟางหรือวัสดุแห้ง ๆ จัดไว้ในมุมมืดของเล้าสำหรับแม่เป็ด

การป้องกันโรค
โรคที่สำคัญในเป็ดเทศ ได้แก่ โรคอหิวาต์ และโรคดั๊กเพล็ก จึงต้องมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
  • ·โรคอหิวาต์ ฉีดวัคซีนเมื่อเป็ดอายุ 1-1 เดือน ครึ่ง ปีละ 4 ครั้ง โดยฉีดเข้ากล้ามตัวละ 2 ซีซี
  • -โรคดั๊กเพล็ก ฉีดวัคซีนเมื่อเป็ดอายุ 21 วัน ปีละ 2 ครั้ง โดยฉีดเข้ากล้ามตัวละ 1 ซีซี

ฐานการเรียนรู้ที่ ๔ ฐานการเรียนรู้การพึ่งพาตนเอง (ด้านประมง)


การเลี้ยงกบในกระชัง

     การเลี้ยงปลากินพืช

การเลี้ยงปลาดุก

กิจกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำ ป็นกิจกรรมหนึ่งศูนย์การเรียนรู้ได้นำมาศึกษาเรียนรู้จนเป็นกิจกรรมที่ก่อเกิดรายได้ขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันศูนย์ ฯ ได้ดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
  • ๑. กิจกรรมการเลี้ยงปลากินพืช
  • ๒. กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุก
  • ๓. กิจกรรมการเลี้ยงกบในกระชัง

กิจกรรมการเลี้ยงปลากินพืช
ปลากินพืชประกอบด้วยปลาหลายชนิด เช่น ปลาตะเพียน ปลานิล ปลายี่สกเทศ เป็นต้น ปลาเหล่านี้เป็นปลาพื้นบ้านและปลาเศรษฐกิจของคนไทยประชาชนนิยมบริโภค อย่างแพร่หลายเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายเจริญเติบโตเร็วเป็นที่ต้องการของตลาดสาหรับต้นทุนการผลิตก็ไม่สูงมากดังนั้น การเลี้ยงปลาเหล่านี้จึงเป็นอาชีพที่สามารถลดรายจ่ายที่น่าสนใจอีกอาชีพหนึ่ง

เงื่อนไขความสำเร็จ
๑. บ่อเลี้ยง ควรทาน้าเขียว (สร้างแพลงค์ตอนพืช) และทาอาหารธรรมชาติจาพวกแพลงค์ตอนสัตว์
เช่น ไรแดง หนอนแดง โรติเฟอร์ เป็นต้น ก่อนการปล่อยปลาลงเลี้ยง อย่างน้อย ๑ – ๒ สัปดาห์โดยการใช้

ปุ๋ยคอกแห้ง อัตราส่วน ๕๐ – ๑๐๐ กก./ไร่ และฟางข้าวแห้ง อัตราส่วน ๑๐๐ กก./ไร่ ใส่สลับกับเป็นชั้น ๆ ที่มุมบ่อ โดยอาจทาเป็นคอกล้อมไว้ การทาเช่นนี้จะช่วยเพิ่มอัตรารอดของลูกพันธุ์ปลาได้มาก

๒. บ่อเลี้ยง ควรเป็นบ่อขนาด ๔๐๐ ตารางเมตรจนถึงขนาด ๑ ไร่ หรือ มากกว่านั้นความลึกของน้าในบ่อควรให้ลึกกว่า ๑ ม.ขึ้นไป ใช้เลี้ยงลูกปลาที่มีขนาดยาว๕ – ๗ ซม. ขึ้นไป ในอัตราการปล่อย ๓ – ๔ ตัวต่อตารางเมตร หรือ ๕,๐๐๐ตัว/ไร่

๓. การคงสภาพของสีน้าให้เขียวอยู่ตลอดระยะเวลาการเลี้ยงปลา เพื่อรักษาคุณภาพน้าและเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติให้ปลา ทาได้โดย การใส่ปุ๋ยคอกแห้ง อัตราการใส่ปุ๋ยคอกแห้ง ที่นิยมใช้กันส่วนใหญ่อยู่ในระดับ ๑๕๐ – ๒๐๐ กิโลกรัม /ไร่ ใส่ทุก ๆ ช่วง ๒ – ๓ เดือน ปริมาณแตกต่างกันไปตามสภาพของบ่อและความหนาแน่นของปลาที่เลี้ยง


๔. การเลี้ยงปลากินพืชในบ่อดินบ่อที่เหมาะสมควรมีขนาดเนื้อที่ที่ผิวน้ามากกว่า ๔๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป ลึกประมาณ ๑ – ๑.๕ ม. หลังจากเตรียมบ่อ ดังได้กล่าวมาแล้วปล่อยลูกปลาขนาด ๑.๕ – ๒ ซม. ในอัตรา ๓ – ๔ ตัว/ตารางเมตร ให้อาหารวันละ ๒ เวลา เช้า - เย็น ในอัตรา ๓ – ๔ เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนัก

ตัวปลารูปแบบบ่อที่ใช้เลี้ยงควรมีระบบการระบายน้าที่ดีงบประมาณค่าใช้จ่ายดาเนินการ ๕,๑๔๐.- บาท
ลำดับ
รายการ
ค่าใช้จ่าย
หมายเหตุ
ค่าพันธุ์ปลากินพืช ๒,๕๐๐ ตัว
ค่าอาหาร ๑๖๐ กก.
ปุ๋ยคอก ๕๐ กก.
ฟางข้าวแห้ง ๖ ฟ่อน
,๒๕๐
,๔๔๐
๑๕๐
๓๐๐



รวม
,๑๔๐