วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2561

ฐานการเรียนรู้ที่ ๓ ฐานการเรียนรู้การพึ่งพาตนเอง (ด้านปศุสัตว์)


การเลี้ยงโค
การเลี้ยงเป็ดเทศ
การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่

การเลี้ยงสุกร

การเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง
รากฐานของสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมที่มีการเลี้ยงสัตว์กันอย่างแพร่หลาย โดยมีจุดประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อใช้เป็นอาหารของประชากรภายในครอบครัว หมู่บ้าน และขยายสู่สังคมในเชิงพานิช อาหารที่ได้จากสัตว์ ได้แก่อาหารประเภทเนื้อ นมและไข นอกจากรายได้เพื่อการเลี้ยงดูครอบครัวได้อีกด้วย การทำเกษตรทฤษฏีใหม่ด้านการเลี้ยงสัตว์ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้นการพึ่งพาตนเอง โดยกานำวัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ภายในท้องถิ่นตลอดจนการอาศัยภูมิปัญญาทีได้จากการสืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ อาศัยหลักการพึ่งพิงธรรมชาติในการเลี้ยง ในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย มีความแตกต่างกันในด้านวัฒนธรรมขนมาธรรมเนียมประเพณี ความเป็นอยู่และการดำรงชีพ ดังนั้น การเลี้ยงสัตว์จึงมีความแตกต่างกันตามสภาพพื้นที่ การใช้ประโยชน์และการบริโภคได้ ปัจจุบันศูนย์ได้ดำเนิน

กิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ ดังนี้

  • ๑. การเลี้ยงโคพันธุ์ผสม
  • ๒. การเลี้ยงสุกร
  • ๓. การเลี้ยงเป็ดเทศ
  • ๔. การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่และการไก่พันธุ์พื้นเมือง


การส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสม
กิจกรรมการเลี้ยงโคที่จะให้ประสบผลสำเร็จนั้นจะต้องมีการศึกษาเรียนรู้ปัจจัยต่าง ๆ ๕ ด้าน คือ
๑. การเตรียมพื้นที่ในการเลี้ยงวัว
พื้นที่ที่จะเลี้ยงวัวคือพื้นที่ที่วัวจะอยู่เติบโต ใช้ชีวิตในช่วงเวลาก่อนที่วัวจะพร้อมสู่การนำไปขายได้ เนื่องจากวัวเป็นสัตว์ที่มีขนาดตัวใหญ่ พื้นที่ในการเลี้ยงจึงต้องใช้บริเวณที่มีขนาดใหญ่เหมาะสม การเลี้ยงวัวมีได้สองลักษณะคือ การเลี้ยงแบบชาวบ้านที่เลี้ยงไปตามทุ่งตามนา การเลี้ยงแบบนั้นจำเป็นต้องมีคนคอยเฝ้า มีพื้นที่ใกล้เคียงที่สามารถนำวัวไปเดิน มีหญ้าให้วัวแทะเล็ม ส่วนอีกลักษณะหนึ่งคือการเลี้ยงแบบฟาร์ม ต้องมีการทำคอกรวมถึงรางอาหารรางน้ำที่ถูกสุขลักษณะ มีความสะอาดสำหรับวัว มีขนาดคอกที่กว้างขวางเพียงพอ

๒. การเลือกพันธุ์วัวเนื้อที่จะเลี้ยง
พันธุ์ของวัวเป็นอีกสิ่งที่สำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาเป็นพิเศษ พันธุ์ที่จะเลือกมาเลี้ยงจะต้องดูจากความเหมาะสมของลักษณะการเลี้ยงรวมถึงสถานที่ ท้องถิ่นที่จะเลี้ยงด้วย เพราะหากเลือกพันธุ์ที่ไม่เหมาะสมจะได้ผลที่ไม่ดี วัวมีน้ำหนักน้อย เลี้ยงยาก อาจไม่แข็งแรงได้ พันธุ์ของวัวมีทั้ง วัวเนื้อพันธุ์พื้นเมือง วัวเนื้อพันธุ์ต่างแดน วัว

๓. ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
ผู้เลี้ยงต้องมีการศึกษาหาความรู้ให้ลึกซึ้งลงรายละเอียดเกี่ยวกับวัวที่เลี้ยง สายพันธุ์ที่เลี้ยง ธรรมชาติของวัวพันธุ์นั้น สามารถปรับวิธีการเลี้ยงให้เข้ากับนิสัยใจคอ ลักษณะของวัว ต้องรู้ถึงจุดเสี่ยงที่จะทำให้วัวเกิดโรค หรือข้อเด่น จุดได้เปรียบที่จะทำให้วัวเติบโตเร็วแข็งแรงมีน้ำหนักมีลักษณะที่ดี สามารถขายได้ราคา

๔. ศึกษาการตลาด
เกษตรกรมือใหม่ไม่เพียงแต่จะต้องรู้จักมีความเชี่ยวชาญการเลี้ยงวัวเท่านั้น แต่ควรจะเรียนรู้และศึกษาเทคนิคกลไกตลาดในการค้าวัว หาแหล่งที่รับซื้อที่ได้ราคา รู้จังหวะในการขายเพื่อให้ได้ราคาที่ดีด้วย เพราะการจะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงวัว นอกจากการเลี้ยงวัวให้เติบโตแข็งแรง มีลักษณะดี มีน้ำหนักดีแล้ว ยังต้องประสบความสำเร็จในด้านกลไกการตลาดอีกด้วย
๕. หาวิธีการลดต้นทุน
เคล็ดลับสำคัญที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงวัวเนื้ออีกข้อหนึ่งก็คือ การหาวิธี ทดลอง เรียนรู้วิธีในการลดต้นทุนการเลี้ยงโดยยังคงคุณภาพที่ดีในการเลี้ยงด้วย เช่น การเลี้ยงด้วยวัตถุดิบที่ประหยัดแต่มีคุณภาพดี การลดเวลาในการเลี้ยง การผสมเทียม เป็นต้น

การส่งเสริมการเลี้ยงสุกรแบบเกษตรธรรมชาติเพื่อขุนขาย
เงื่อนไขความสำเร็จ

  • ๑. พันธุ์ที่จะนามาเลี้ยงเพื่อขุน ควรเป็นพันธุ์ที่ประชาชนโดยทั่วไปนิยมบริโภค
  • ๒. โรงเรือนควรมีขนาดพื้นที่เลี้ยงให้อยู่ได้อย่างสบาย สามารถคุ้มแดด คุ้มฝนได้เป็นอย่างดี มีความแข็งแรง อายุการใช้งานอย่างน้อย ๓ – ๕ ปี สามารถเลี้ยงสุกรได้หลายรุ่น
  • ๓. ต้องอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ราคาถูก หรือมีแหล่งวัตถุเหลือใช้จากครัวเรือน หรือระบบไร่นา เพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงสุกรอย่างเพียงพอ
  • ๔. จะต้องนำแกลบมูลสุกรที่ได้จากการเลี้ยงแต่ละรุ่นไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงบำรุงดิน
  • ๕. ต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับตลาดจำหน่ายสุกร ทั้งตลาดสุกรมีชีวิต และตลาดเนื้อสุกรชำแหละ
  • ๖. ต้องนารายได้จากการขายสุกรไปซื้อลูกสุกร และอาหารสุกรเพื่อมาเลี้ยงขุนในรุ่นต่อๆ ไปให้ต่อเนื่อง
งบประมาณค่าใช้จ่ายในการดาเนินการ ๒๒,๑๕๐.- บาท

ลำดับ
รายการ
ค่าใช้จ่าย
หมายเหตุ
.



.

.

.








ค่าพันธุ์สุกรเพศเมีย หรือเพศผู้จำนวน ๓ ตัว/ราย ราคาตัวละ๑,๕๐๐.- บาท

ค่าโรงเรือนและอุปกรณ์ภายในโรงเรือน
ค่าวัสดุเตรียมหลุม

ค่าอาหารเฉลี่ยตัวละ ๓,๔๕๐.-บาท







ค่ายาเวชภัณฑ์
,๕๐๐



,๐๐๐

,๐๐๐

๑๐,๓๕๐
- สุกรลูกผสม เพศเมีย ๓ ตัว/ราย ถ้าเป็นเพศผู้ควรตอนก่อน อายุ ๑.๒ เดือน(น้ำหนักเฉลี่ย ๑๕-๒๐ กก.)
- โรงเรือนขนาด ๒XX.๘ ม.
- วัสดุเตรียมคอกหมูหลุมประกอบด้วยแกลบ ปุ๋ยคอก(หรือดินที่ขุดออก) และเกลือ
- หัวอาหาร ๔.๕ กระสอบ ๆ ละ ๕๐๐.-บาทเป็นเงิน๒,๒๕๐.- บาท
- ปลายข้าว ๙ กระสอบ ๆ ละ ๓๖๐.- บาทเป็นเงิน ๓,๒๔๐.- บาท
- รำรวม ๑๓.๕ กระสอบ ๆ ละ ๓๖๐.- บาทเป็นเงิน ๔,๘๖๐.- บาท
- ค่ายาเวชภัณฑ์ ตัวละ ๑๐๐.- บาท

       รวม
๒๒,๑๕๐

วิธีการ โรงเรือนเลี้ยงสุกรแบบเกษตรธรรมชาติ (หมูหลุม) หน่วยและเกษตรกรต้องร่วมมือกัน หากสามารถจัดหาวัสดุในท้องถิ่นได้ก็จะเป็นการลดค่าใช้จ่าย และสามารถก่อสร้างคอกได้ถูกต้องตามแบบที่กำหนด

ผลตอบแทน
๑. สุกรน้ำหนัก ๘๐ – ๑๐๐ กก./ตัว ราคาจำหน่าย กก.ละ ๖๕- ๗๐.- บาท เป็นเงิน ๕,๐๐๐ – ๖,๐๐๐.- บาท จำนวน ๓ ตัว เป็นเงิน ๑๕,๐๐๐ – ๑๘,๐๐๐.- บาท
๒. ปุ๋ยคอกจากมูลสุกร ประมาณ ๑๐ กก./วัน
๓. คอกสุกรมีอายุการใช้งาน ๓ – ๕ ปี ๑ ปี สามารถเลี้ยงสุกรขุนได้ ๒ รุ่น

กิจกรรมการเลี้ยงเป็ดเทศ
เป็ดเทศ เป็นเป็ดพันธุ์เนื้อ ซึ่งมีลักษณะเด่นคือเป็นเป็ดที่มีโครงสร้างใหญ่ เนื้อมาก ไขมันต่ำ ไร้กลิ่นสาบ เนื้อตัวสะอาด ทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่นเดียวกับเป็ดพื้นเมืองธรรมดา แต่มีข้อดีคือ เลี้ยงง่าย โตไว ทนต่อโรค สามารถให้อาหารที่หาได้ตามท้องถิ่นได้ ออกไข่ปีละ 4-5 ชุดๆ ละประมาณ 15 ฟอง ฟักไข่ได้เองและเลี้ยงลูกเก่ง ข้อสำคัญ จำหน่ายได้ราคาดีเป็นที่ต้องการของตลาด

การเลี้ยงเป็ดเทศ แบ่งเป็น
ตั้งแต่แรกเกิด - อายุ 3 สัปดาห์
การฟักไข่จะใช้เวลาประมาณ 35 วัน เมื่อลูกเป็ดเทศเกิด นำไปเลี้ยงในเล้า ซึ่งมีผ้าหรือกระสอบป่านตัดเย็บล้อมรอบเล้า เพื่อป้องกันลมโกรกถูกตัวลูกเป็ดพื้นเล้าควรปูด้วยแกลบหรือวัสดุที่สะอาด หนาประมาณ 2-3 นิ้ว จัดวางหลอดไฟให้ความอบอุ่น เตรียมรางใส่อาหาร รางใส่น้ำไว้ในเล้า ให้อาหารเป็ดวันละ 4-5 ครั้ง อุณหภูมิที่เหมาะสมในการกกลูกเป็ด ควรสังเกตจากปฏิกิริยาของลูกเป็ดด้วย ถ้ามีลูกเป็ดนอนสุมทับกันและมีเสียงร้อง แสดงว่าอุณหภูมิต่ำเกินไป ต้องเพิ่มความอบอุ่นให้ ถ้าลูกเป็ดกระจายอยู่และยืนอ้าปากหอบกางปีก แสดงว่าร้อนเกินไป ต้องลดอุณหภูมิลง ถ้าอุณหภูมิพอเหมาะ ลูกเป็ดจะนอนราบกับพื้นกระจายอยู่ทั่วไป การกกลูกเป็ดควรกกประมาณ 3 สัปดาห์

อายุ 4 - 12 สัปดาห์
โรงเรือนสำหรับเลี้ยงเป็ด ควรแห้งสะอาด ไม่มีน้ำขัง ป้องกันแดดและฝนได้ดี รางอาหารควรวางห่างจากรางน้ำ มีผัก หญ้าสด หรือผักตบชวา ให้เป็ดกิน อาหารควรมีโปรตีนประมาณ 16% ถ้าเลี้ยงเป็ดเทศเพื่อจำหน่าย ควรจำหน่ายอายุ 10-12 สัปดาห์

อายุประมาณ 13 - 24 สัปดาห์
ช่วงนี้เป็ดจะกินอาหารมากขึ้น การเจริญเติบโตน้อย จึงเลี้ยงด้วยอาหารให้เพียงพอสำหรับรักษาขนาดและน้ำหนักของเป็ดให้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย อาหารที่ให้ช่วงนี้ ควรมีโปรตีนประมาณ 14%

การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์
เป็ดที่จะเริ่มไข่เมื่ออายุ 28 สัปดาห์ วันหนึ่งควรให้อาหาร 2 ครั้ง เช้า-เย็น ปริมาณที่ให้แม่พันธุ์ 130-150 กรัม/ตัว/วัน พ่อพันธุ์ 200-250 กรัม/ตัว/วัน อาหารที่ให้ควรมีโปรตีนประมาณ 15-18% เป็ดเทศปีหนึ่งจะไข่ประมาณ 4-5 ชุด ชุดละ 15-20 ฟอง สามารถไข่ได้ 2 ปี ลักษณะเป็ดเทศที่จะไข่มีขนสีดำเป็นมัน หน้าแดง ร้อง แม่เป็ดชอบไข่ในที่มืดสงบ จึงควรมีรังไข่บุด้วยฟางหรือวัสดุแห้ง ๆ จัดไว้ในมุมมืดของเล้าสำหรับแม่เป็ด

การป้องกันโรค
โรคที่สำคัญในเป็ดเทศ ได้แก่ โรคอหิวาต์ และโรคดั๊กเพล็ก จึงต้องมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
  • ·โรคอหิวาต์ ฉีดวัคซีนเมื่อเป็ดอายุ 1-1 เดือน ครึ่ง ปีละ 4 ครั้ง โดยฉีดเข้ากล้ามตัวละ 2 ซีซี
  • -โรคดั๊กเพล็ก ฉีดวัคซีนเมื่อเป็ดอายุ 21 วัน ปีละ 2 ครั้ง โดยฉีดเข้ากล้ามตัวละ 1 ซีซี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น