วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2561

ฐานการเรียนรู้ที่ ๑ ฐานการเรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านการลดต้นทุนการผลิต

กิจกรรมการในฐานการเรียนรู้มีวัตถุประสงค์ในการลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอกอย่างน้อย ๔๐ เปอร์เซ็นต์ เช่น การนำน้ำส้มควันไม้สามารถลดการใช้สารเคมีในการไล่แมลง การแปรรูปข้าวโพดที่ได้จากการผลิตมาผสมกับอาหารตามท้องตลาด ตลอดจนถึงการผลิตปุ๋ยน้ำและปุ๋ยหมักเพื่อลดการปุ๋ยเคมี



การผลิตน้ำส้มควันไม้

การแปรรูปอาหารสัตว์

การทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชี

การส่งเสริมการทาปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่กลับกอง
เงื่อนไขความสำเร็จ

  • ๑. ใกล้แหล่งวัสดุในการทาปุ๋ย เช่น ใบไม้ ฟางข้าว วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร
  • ๒. ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อให้ความชื้นกองปุ๋ยหมัก
  • ๓. ต้องมีเวลาในการรดน้ากองปุ๋ยหมัก
งบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ๓,๖๐๐.- บาท 

ลำดับ
รายการ
ค่าใช้จ่าย
หมายเหตุ
วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ๑ ตัน
มูลสัตว์ ๓๖๐ กก.
อุปกรณ์ (จอบ บัวรดน้า)
,๕๐๐
,๘๐๐
๓๐๐



       รวม
,๖๐๐


หมายเหตุ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว เปลือกถั่ว ซังข้าวโพด ทลายปาล์ม กากถั่วเหลืองขี้เลื่อย ใบกระทิน และใบก้ามปู เป็นต้น

วิธีการ – ส่งเสริมให้กับพื้นที่ของราษฎรที่มีความจำเป็นต้องเพิ่มอินทรียวัตถุและสามารถใช้วัตถุดิบที่มีในพื้น

ที่มาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ และเคยมีการใช้ปุ๋ยเคมีในพื้นที่ในปริมาณมากมาก่อน หน่วยสามารถใช้การสำรวจควบคู่กับโปรแกรมคาแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลงสามารถดาวน์โหลดได้จาก website ของกรมพัฒนาที่ดิน หรือ ชุดตรวจสอบค่า N – P - K และกรด-ด่าง ของดิน หรือ เก็บตัวอย่างดินเพื่อส่งวิเคราะห์ได้ที่ สำนักงานพัฒนาที่ดินประจำจังหวัด

- เมื่อทำการส่งเสริมให้กับราษฎรได้ใช้แล้ว ควรมีการแนะนำ/ส่งเสริมให้ใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่ เพื่อใช้ในการผลิตต่อไปโดยมีอัตราการใช้ ๑ – ๒ ตัน ต่อไร่

ลักษณะกองเป็นแถวยาวรูปสามเหลี่ยม โดยไม่พลิกกลับกอง มีขั้นตอนวิธีทำดังนี้
๑. นำฟางหรือเศษข้าวโพด หรือ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยได้ ๔ ส่วนวางหนา ๑๐ ซม. บนพื้น ฐานกว้าง ๒.๕ ม. โรยทับด้วยขี้วัว ๑ ส่วน (สัดส่วน ๔ ต่อ ๑ ถ้าเป็นใบไม้ใช้ ๓ ต่อ ๑) แล้วรดน้า ถ้าต้องการปุ๋ยหมัก ๑ ตัน ก็ต่อความยาวให้ได้ ๔ ม. ขณะตวงเศษพืชในเข่งให้เหยียบให้แน่น แต่ตอนวางในกองรูปสามเหลี่ยม สูงรวม ๑.๕ ม. ปกติก็จะมีจานวน ๑๕ – ๒๐ ชั้น แต่ละชั้นหนาไม่เกิน ๑๐ ซม. การทำเป็นชั้นบาง ๆ ก็เพื่อให้จุลินทรีย์ในมูลสัตว์สามารถออกมาย่อยสลายเศษพืชได้ทั่วถึง ห้ามเหยียบกอง

๒. กองปุ๋ยยาว ๔ ม. จะใช้ขี้วัว ๓๐ กระสอบ (ประมาณ ๓๖๐ กก.ๆ ละ ๕.- บาท เป็นเงิน ๑,๘๐๐.- บาท)
๓. ภายในเวลา ๒ เดือนให้ดูแลน้าอย่างประณีตและพิถีพิถัน ได้แก่ รดน้ำวันละครั้ง ในปริมาณที่ไม่ทำให้น้ำไนโตรเจนจากมูลสัตว์ไหลนองออกมามาก ทุกๆ ๑๐ วันให้เอาไม้หรือเหล็กเจาะกองปุ๋ยถึงพื้นดินระยะห่างรู ๔๐ ซม.รอบกอง กรอกน้ำลงไปในปริมาณที่ทำให้ภายในกองปุ๋ยชื้นพอดี ๆ ไม่มีน้าไหลนองออกมามาก เสร็จแล้วปิดรู (รดน้าวันละครั้ง แล้วทุก ๑๐ วันเจาะกองปุ๋ยเติมน้า ปิดรู (เจาะรวม ๕ ครั้ง) - ๔๓ -
- ๔๔ -กองปุ๋ยก็จะยุบเหลือแค่ ๑ ม. กระบวนการก็จะยุติโดยไม่ต้องพลิกกอง ทิ้งให้แห้งเพื่อให้จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยสงบตัว ไม่ให้เป็นอันตรายต่อพืช เมื่อแห้งแล้วค่อยเอาไปใช้หรือเก็บใส่กระสอบ เก็บได้นานหลายปี

(ข้อมูลกระบวนการผลิต : มหาวิทยาลัยแม่โจ้)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น