วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2561

๑. พื้นที่ส่วนกลาง





พื้นที่ส่วนกลาง เป็นพื้นที่เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิภพอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ การเรียนรู้องค์ความรู้ตามฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ ตลอดจนถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเข้าใจ พร้อมที่จะปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเข้าถึง และสามารถนำไปพัฒนาเพื่อให้เกิดมาตรฐานเป็นที่ยอมรับได้ ซึ่งอันดับแรกจะต้องศึกษาเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกิดความศรัทธาเพื่อน้อมนำมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม

หลักการทรงงานข้อที่ ๑๙ เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย ๕ ส่วน คือ

๑. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และการปฏิบัติตนตามสมควรจะเป็น โดยอยู่บนพื้นฐานดังเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา โดยมุ่งเน้นการพ้นภัยทางวิกฤต เพื่อความมั่นคง เพื่อความยั่งยืนของการพัฒนา
๒. คุณลักษณะ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาใช้กับตนเองและกับคนทุกระดับ โดยยึดหลักทางสายกลาง และพัฒนาอย่างเป็นระบบ
๓. คำนิยาม
คำว่าพอเพียงนั้นหมายถึงความพอประมาณอย่างมีเหตุ โดยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนพอสมควร เพื่อจะรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้าง ทั้งทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของโลกได้เป็นอย่างดี โดยอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ อย่างระมัดระวังในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ใช้ในการวางแผน ทุกขั้นตอน ควบคู่ไปกับการพัฒนาจิตใจของคนในชาติทุกระดับ เพื่อให้สำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตไปด้วยความอดทน ความเพียร ความรอบคอบมีเหตุผล เพื่อสร้างความสมดุลในเกิดขึ้นทั้งทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การนำหลักคิด หลักปฏิบัติ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ภายในใต้สามห่วง สองเงื่อนไข คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และความมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง และสองเงื่อนไข คือเงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม

ความพอประมาณหมายถึง การแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ และรู้จักประมาณในการบริโภคแต่พอควร คือไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และไม่เบียดตนเอง และผู้อื่น
  • โดยใช้หลักการ ๕ พอ
  • ๑. ความพอดีทางด้านจิตใจ
  • ๒. ความพอดีในด้านสังคม
  • ๓. ความพอดีการใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างที่มีอย่างจำกัด
  • ๔. ความพอดีการใช้เทคโนโลยี
  • ๕. ความพอดีทางด้านวิถีชีวิตทางด้านเศรษฐกิจแบบพอเพียง ให้สมเหตุสมผล 
  • ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจใช้ระดับความพอเพียงนั้นจะต้องรอบคอบด้วยเหตุผล โดยคำนึ่งถึงเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นอย่างรอบคอบ โดยใช้หลักการและเหตุผลอยู่ ๕ ด้าน คือ
  • ๑. หลักการและเหตุผลในการประหยัดและอดออม
  • ๒. หลักการและเหตุผลในการเลือกอาชีพให้เหมาะสมกับตนเอง
  • ๓. หลักการและเหตุผลในการหลีกเลี่ยงการแข่งขันกันอย่างรุนแรง
  • ๔. หลักการและเหตุผลในการพัฒนาตนอย่างไม่หยุดยั้ง
  • ๕. หลักการและเหตุผลในการพัฒนาตนในการลดละเลิกในสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม

  • ภูมิคุ้มกัน หมายถึงการเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในด้าน ๆ ต่าง โดยคำนึ่งถึงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นทั้งใกล้และไกล
๔. เงื่อนไขที่จะนำไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนนั้นจะต้องประกอบด้วย ๒  เงื่อนไข คือ
  • เงื่อนไขความรู้ ที่เกิดจากการเข้าใจ (การเรียนรู้) เงื่อนไขความรู้ที่เกิดจากการเข้าถึง (การลงมือทำ) และความรู้ที่เกิดจาการพัฒนา (เข้าสู่ระดับมาตรฐาน)
  • เงื่อนไขคุณธรรม คือเครื่องกำกับจิตใจให้ปรากฏแสดงเป็นพฤติกรรมที่กำหนดได้ว่าเป็นความดีความจริงและความงาม ตามหลักศาสนาของตนเอง
๕. หลักการนำเอาไปใช้ เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมนั้นจะต้องศึกษาหาความรู้จากศาสตร์ของพระราชาที่ ทรงคิดค้นไว้มากกว่า ๒,๐๐๐ กว่าโครงการ และนำหลักการทรงงานมาประยุกต์ในการดำเนินรอยตาม ๒๓ ข้อ คือ
  • ๑. ข้อมูลให้เป็นระบบ
  • ๒. ระเบิดจากข้างใน
  • ๓. แก้ไขจุดเล็ก
  • ๔. ทำงานตามลำดับชั้น
  • ๕. ภูมิสังคม
  • ๖. องค์รวม
  • ๗. ไม่ติดตำรา
  • ๘. เรียบง่ายได้ประโยชน์สูงสุด
  • ๙. ทำให้ง่าย
  • ๑๐. มีส่วนรวม
  • ๑๑. ประโยชน์ส่วนร่วม
  • ๑๒. บริการจุดเดียว
  • ๑๓. ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
  • ๑๔. ใช้อธรรมปราบอธรรม
  • ๑๕. ปลูกป่าในใจคน
  • ๑๖. ขาดทุนคือกำไร
  • ๑๗. พึ่งพาตนเอง
  • ๑๘. พออยู่พอกิน
  • ๑๙. เศรษฐกิจพอเพียง
  • ๒๐. เอื้อเฟื้อจริงใจต่อกัน
  • ๒๑. ทำงานให้มีความสุข
  • ๒๒. มีความเพียรดังมหาชนก
  • ๒๓. รู้รักสามัคคี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น