วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2561

ฐานการเรียนรู้ที่ ๒ ฐานการเรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านการเกษตร


     การปลูกพืชระยะสั้น
การปลูกพืชระยะกลาง
การปลูกพืชระยะยาว

กิจกรรมการปลูกพืชเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องวัตถุประสงค์คือปลูกเพื่อสาธิตให้ได้ทราบว่า ในครอบครัวหนึ่งสามารถปลูกไว้รับประทานเอง จะทำให้ผู้ปลูกได้รับประทานผักสดที่อุดมด้วยวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ ซึ่งมีความปลอดภัยจากสารเคมี และสามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้ เพราะโดยทั่วไปแล้วคนเรามีการบริโภคผักอย่างน้อยวันละ ๒๐๐ กรัม เพื่อให้สารอาหารครบถ้วน ชนิดของพืชผักสวนครัวตามความเหมาะสมหรือความต้องการของราษฎรในพื้นที่ โดยมีการปลูกพืชตามอายุการเก็บเกี่ยว ได้แก่

ผักอายุสั้น (อายุสั้นกว่า ๒ เดือน) เช่น ผักชี ผักกาดหอม ผักกาดเขียว ผักบุ้งคะน้า กวางตุ้ง แตงกวาข้าวโพดฝักอ่อน และป๋วยเหล็ง เป็นต้น

ผักอายุปานกลาง (อายุ ๒ - ๕ เดือน) เช่นกะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลี บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก ถั่วฝักยาว ถั่วแขก หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ พริก แตงโมมะระ ฟักทอง ข้าวโพดหวาน และมันเทศ เป็นต้น

ผักยืนต้น (มากกว่า ๑ ปี) เช่น กุ้ยช่าย ผักหวาน มะเขือชะอม ชะพู โหระพา ถั่วพู ตะไคร้ แมงลัก กระชาย กระถิน ชะอม ขิง ข่า ขมิ้น และหน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น

- ปุ๋ยที่ใช้ในการเตรียมพื้นที่ ๑๐๐ กก. ปุ๋ยอินทรีย์ ๑๐๐ กก.

การเตรียมดิน
- เตรียมดินสำหรับปลูก ใช้ดิน แกลบ : ปุ๋ยหมักอัตราส่วน หนึ่งต่อหนึ่ง คลุกเคล้าให้เข้ากัน รดน้ำเพื่อให้มีความชื้น สังเกตได้จากสามารถกำวัสดุปลูกเป็นก้อนได้
- พรวนดิน ตากดินทิ้งไว้ประมาณ ๗ – ๑๕ วัน
- ยกแปลงสูงประมาณ ๔ – ๕ นิ้ว กว้างประมาณ ๑ เมตร ส่วนความยาวตามลักษณะของพื้นที่ ควรอยู่ทิศเหนือ/ใต้ เพื่อให้ผักได้รับแสงตลอดทั้งแปลง
๑. ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 2 – 3 กก.ต่อเนื้อที่ ๑ ตารางเมตร

การดูแลรักษา
- การให้น้ำพืชผักอายุสั้น ระบบรากตื้น ต้องการน้ำสม่ำเสมอทุกระยะการเจริญเติบโต ต้องให้น้ำทุกวัน ควรให้ช่วงเช้าและเย็น

การบริหารจัดการน้ำ
การบริหารจัดการน้ำสำหรับพืชผัก ศูนย์การเรียนรู้ได้ติดตั้งระบบน้ำหยดเพื่อช่วยในการประหยัดพลังงานและเวลาในการบำรุงดูแลรักษาอยู่ ๓ ลักษณะ คือ

๑. การติดตั้งระบบน้ำหยดขนาด ๔๐๐ ลิตร ให้กับพืชระยะสั้นที่ต้องการน้ำอยู่เป็นประจำทุกวัน






















๒. การติดระบบน้ำหยดแบบลูกทุ่ง ๒๐๐ ลิตร กับผักพื้นบ้านเช่น ต้นพลูคาว ต้นสะระแหน่ ต้นหอมแบ่ง กุยช่าย ฯลฯ





๓. การติดระบบน้ำหยดแบบลูกทุ่ง ๒๐ ลิตร กับพืชผักสวนครัว เช่น พริก มะเขือ ฯ ลฯ






การบริหารจัดการทั้งสามระบบนอกจากจะเป็นการจัดการระบบน้ำให้เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิดแล้ว ยังเป็นการจัดการบริหารเวลาที่จะต้องเสียไปกับการดูแลรักษา นำเวลาดังกล่าวมาทำกิจกรรมอื่นที่ให้ก่อเกิดรายได้ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่เราสามารถลดรายจ่ายได้ทันที เพราะเวลาเป็นเงินเป็นทอง

การให้ปุ๋ย มี ๒ ระยะ คือ

- ปุ๋ยรองพื้น ใส่ช่วงเตรียมดิน หรือรองก้นหลุมก่อนปลูก ควรเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

- ปุ๋ยบำรุง ใส่ปุ๋ยสูตร ๑๕ – ๑๕ – ๑๕ หลังจากล้าตั้งตัวได้แล้ว และใส่ปุ๋ยครั้งที่ ๒ เมื่อเวลาผ่านไป ๒ สัปดาห์ สำหรับ ปุ๋ยสูตร ๑๒ – ๒๔ – ๑๒ สำหรับเร่งการออกดอกและผล

- การกำจัดวัชพืช ใช้มีด จอบ หรือถอดด้วยมือ

- การกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยปกติจะใช้สารสกัดจากสะเดาเพราะเป็นทั้งสารไล่แมลงและฆ่าแมลงโดยตรง

นอกจากปลูกพืชผักสวนครัวแล้วยังปลูกหรือไม้ผลและไม้เศรษฐกิจ เช่นขนุน เงาะ มะม่วง ฝรั่ง ต้นมะยมหอม สัก สะเดา กระท้อน ลิ้นจี่ รอบ ๆ ศูนย์การเรียนรู้ เพื่อประโยชน์จากการปลูกไม้สามอย่างให้เกิดประโยชน์สี่ คือไม้ใช้สอย ไม้กินได้ ไม้เศรษฐกิจ

หลักนักพัฒนา
จะปลูกพืช                ต้องเตรียมดิน 
จะกิน                        ต้องเตรียมอาหาร
จะพัฒนาการ            ต้องพัฒนาคน 
จะพัฒนาตน             ต้องพัฒนาที่ใจ
จะพัฒนาใครเขา      ต้องพัฒนาตัวเราก่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น